ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการพิจารณาคุณค่าและประเมินความสำเร็จของธุรกิจอย่างสมดุล ทั้งการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Environment) มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) รวมทั้งการดำเนินธุรกิจให้เติบโตด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ (Governance) หรือ ESG
ทีวีโอ ให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเป็นธรรม จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านบรรษัทภิบาลและกำกับปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติ สื่อสาร และดูแลการกำกับกิจการให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยในปี 2566 บริษัทมีการทบทวนนโยบายสำคัญหลายด้าน ได้แก่ นโยบายกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายด้านภาษี นโยบายการเปิดเผยข้อมูล นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายการบริหารจัดการน้ำระดับองค์กร นโยบายพลังงาน นโยบายคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นโยบายการทำรายการระหว่างกัน และรายการที่เกี่ยวโยงกัน คู่มือมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน และระเบียบร้องเรียน ให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง และเป็นแนวทางการปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน
ทีวีโอสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส จึงได้มีการประกาศใช้ “นโยบายและคู่มือมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน” และ “จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ” เพื่อเป็นการกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ ทำให้มั่นใจว่าทีวีโอ มีมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน และทำให้การตัดสินใจในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบ
นอกจากนี้ทีวีโอ ยังได้กำหนด “แนวปฏิบัติในการให้/รับ ของขวัญ ของชำร่วย และการรับรอง” เพื่อให้มั่นใจว่าการให้/การรับ ของขวัญ ของชำร่วย และการรับรอง เป็นไปอย่างโปร่งใส โดยไม่ได้คาดหวังผลประโยชน์หรือสิ่งอื่นใดเป็นการตอบแทน ที่อาจนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน อีกทั้งขอความร่วมมือคู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และนโยบายงดรับของขวัญ โดยได้ออก “จดหมายขอความร่วมมือ และของดรับของขวัญ” และ “จดหมายเชิญชวนคู่ค้าเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีเครือข่ายแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)” เพื่อให้พนักงานสื่อสารแก่คู่ค้าธุรกิจและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับทราบถึงแนวปฏิบัติในการงดรับของขวัญที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สอดคล้องกับคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจและนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันของบริษัท และได้จัดทำ “แบบรายงานการรับของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด” เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญกับนโยบายงดรับของขวัญ การต่อต้านคอร์รัปชัน และแสดงความโปร่งใสในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน
การสื่อสารและให้ความรู้กับพนักงาน |
|
การสื่อสารกับคู่ค้าหลักทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
|
การรับข้อร้องเรียน | เมื่อพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือขัดต่อมาตรฐานทางจริยธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการกระทำที่ขัดต่อจรรยาบรรณธุรกิจ ระเบียบบริษัท นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ทีวีโอ มีช่องทางในการการแจ้งเบาะแสและรับข้อร้องเรียน (Whistle Blower) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ และแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายได้โดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ สำนักตรวจสอบภายใน ผ่านทางจดหมาย อีเมล หรือเว็บไซต์ของบริษัท https://www.tvothai.com/th/corporate-governance |
ในปี 2566 ทีวีโอได้รับเชิญจากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ให้เข้าร่วมโครงการ โครงการ CAC Change Agent เพื่อร่วมขยายเครือข่ายธุรกิจโปร่งใสไปยังบริษัทคู่ค้า ร่วมพัฒนาศักยภาพคู่ค้าตลอดห่วงโซ่คุณค่าแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงานอย่างโปร่งใส ตามหลักบรรษัทภิบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
โดยมีคู่ค้าธุรกิจแสดงความต้องการเข้าร่วมประกาศเจตนารมย์เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านการคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ซึ่งทีวีโอจะจัดให้มีกิจกรรม TVO meet Supplier ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2567 นี้ เพื่ออัพเดทรายละเอียดจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นองค์กรที่โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชันไปด้วยกัน
ทีวีโอตระหนักถึงความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ซึ่งมีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร จึงได้นำกรอบแนวทางระบบการควบคุมภายในตามมาตรฐานสากลของคณะกรรมการ COSO (The Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission) ที่ได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้ใช้ควบคู่กับกรอบแนวการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ERM (Enterprise Risk Management) หรือที่เรียกว่า COSO-ERM Framework นำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมการจัดการความเสี่ยงทั้งในด้านกลยุทธ์ การดำเนินงาน การเงิน ความสอดคล้องกับกฎระเบียบปฏิบัติ ครอบคลุมความเสี่ยงจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล ความเสี่ยงใหม่ (Emerging Risks) รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้องค์กรมีการจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และช่วยให้การดำเนินกลยุทธ์ขององค์กรเกิดประสิทธิผล
ระดับนโยบาย | คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment, Social and Governance Committee “ESG”) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการบริหารความเสี่ยง นโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิบัติตามกฎหมาย และกำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร |
ระดับจัดการ | คณะกรรมการ ESG มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จากคณะกรรมการ ESG นำไปสู่การปฏิบัติในระดับการจัดการ กำหนดกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรและความเสี่ยงที่ยอมรับได้ กำหนดกระบวนการและมาตรการในการบริหารความเสี่ยง ติดตาม ทบทวนและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ |
ระดับปฏิบัติการ | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแต่งตั้ง “คณะทำงานด้านการบริหารความเสี่ยง” โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน ทำหน้าที่จัดทำแผนจัดการความเสี่ยง (Risk Management Plan) โดยวิเคราะห์ ประเมิน กำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicator : KRI) รวมถึงกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง (Mitigation Plan) ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร กำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และความเสี่ยงที่ทนรับได้ขององค์กร (Risk Tolerance) รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อรับทราบ พิจารณา และให้ความเห็น เพื่อให้มั่นใจว่าผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนฯ อย่างมีประสิทธิผล |
ทั้งนี้ ทีวีโอ เผยแพร่รายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และแนวทางบริหารจัดการที่แบบ 56-1 One Report ประจำปี 2566 ส่วนที่ 1 หัวข้อ 2 การบริหารจัดการความเสี่ยง หน้า 40-48
ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้การดำเนินงานเกิดความยั่งยืน โดยมีการบริหารความเสี่ยงที่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อธุรกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ทีวีโอ มุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์กับ “คู่ค้าธุรกิจ” และพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อสร้างคุณค่ากับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และเป็นห่วงโซ่สำคัญของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ บริษัทเชื่อมั่นว่า ความสำเร็จที่ยั่งยืนจะต้องคำนึงถึงประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) โดยการบริหารจัดการโอกาสและความเสี่ยงที่ครบทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผลลัพธ์จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าระยะยาวร่วมกับคู่ค้า และยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ทีวีโอ ตั้งเป้าหมายร้อยละ 100 ของคู่ค้าหลักรับทราบและลงนามตอบรับในจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ ครบถ้วนภายในปี 2567
ทีวีโอประกาศใช้ “นโยบายจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement)” และ ตั้งเป้าหมายจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 50 ของยอดจัดซื้อในคู่ค้าธุรกิจกลุ่มสารเคมีและบรรจุภัณฑ์ภายในปี 2571 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการส่งเสริมคู่ค้าสู่การเป็นพันธมิตรสีเขียว
ทีวีโอกำหนดแนวปฏิบัติในการคัดเลือกคู่ค้าธุรกิจ และจัดให้มีการประเมินคู่ค้าธุรกิจเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานที่ครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และสอดคล้องกับหลักการดำเนินงานด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (ESG)
ถั่วเหลืองถือเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญของบริษัท ทีวีโอ มีการจัดซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่มีคุณภาพดีจากเกษตรกรในประเทศ ถือเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกหลักอยู่ที่จังหวััดสุุโขทััย กำแพงเพชร อุุตรดิิตถ์์ เพชรบููรณ์์ เชีียงใหม่่ และขอนแก่น เป็นต้้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2557 การปลูกถั่วเหลืองในประเทศมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตของเกษตรกรที่ปลูกโดยทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ราว 250 – 270 กิโลกรัมต่อไร่ ส่งผลทำให้ต้นทุนการเพาะปลูกสูง เกษตรกรมีกำไรน้อย หรือไม่มีกำไรจากการปลูก จึงทยอยเลิกปลูกถั่วเหลืองและหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน
ทีวีโอเห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนการปลูกถั่วเหลืองแหล่งเพาะปลูกถั่วเหลืองในประเทศ จึงได้ริเริ่มโครงการทดลองปลูกถั่วเหลืองแผนใหม่ในสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยได้เริ่มจัดทำแปลงทดลองบนพื้นที่ 24 ไร่ ในอำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงปลายปี 2565 และได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ผลผลิตที่ได้จากแปลงทดลอง พบว่าวิธีการปรับธาตุอาหารบำรุงดิน และเปลี่ยนวิธีการปลูกแบบเว้นระยะเพื่อให้น้ำแก่ต้นถั่วเหลืองอย่างเพียงพอ ทำให้ค่่าเฉลี่่ยผลผลิิตถั่วเหลืืองของเกษตรกรส่วนใหญ่่มากกว่า 400 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่่งสููงกว่าค่่าเฉลี่่ยปกติของผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศไทย
ในปี 2566 ทีวีโอ ยังคงดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง โดยได้ขยายขอบเขตไปยังอำเภอสันทรายและอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และมีเกษตรกรที่ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ 21 ราย รวมพื้นที่ทดลองเพาะปลูกทั้งสิ้น 104 ไร่ เพื่อมุ่งหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศ เพิ่มแรงจูงใจในการปลูกถั่วเหลืองให้แก่เกษตรกร ให้มีต้นทุนการเพาะปลูกลดลง ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพในระยะยาวต่อไป
ด้านการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองจากต่างประเทศที่เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของโลก ได้แก่ บราซิล สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา ในปีที่ที่ผ่านมาทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสภาวะอากาศที่แปรปรวน หรือภัยธรรมชาติ ส่งผลให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามคาดการณ์ รวมถึงการขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งวัตถุดิบ บริษัทมีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและการขนส่ง โดยมีการวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบและการประเมินความเสี่ยงในทุกด้าน เพื่อให้วัตถุดิบหลักถูกส่งมอบและนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2566 สถานการณ์การเดินทางเข้า-ออก ระหว่างประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทีวีโอจึงได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งเพาะปลูกเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศต้นทางผู้ผลิต เพื่อประเมินความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของวัตถุดิบแต่ละแหล่ง และเพื่อคาดการณ์ปัจจัยแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อการจัดหาวัตถุดิบ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว คุณภาพ และราคา รวมถึงศึกษาข้อมูลจากบทวิเคราะห์และงานวิจัยต่างๆ และนำมาวางแผนในการจัดหาวัตถุดิบ รวมถึงเริ่มนำกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของคู่ค้า เข้ามาใช้ในกระบวนการคัดสรรคู่ค้าที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบที่ได้มาเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ไม่สร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ไม่บุกรุกทำลายป่า ไม่ใช้แรงงานเด็ก ไม่ผิดหลักสิทธิมนุษยชน เป็นต้น โดยทีวีโอเข้าร่วมเป็นสมาชิก Sedex เกี่ยวกับการตรวจสอบหลักจริยธรรมค้าขาย และเป็นสมาชิก Round Table on Responsible Soy Association (RTRS)+
การดำเนินงานในมิติสิ่งแวดล้อม ทีวีโอตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดจากการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการ จึงได้กำหนด “นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม” เผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัท https://www.tvothai.com/th/corporate-governance เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมทั้งมุ่งหวังให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด บริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ รวมถึงมีส่วนช่วยปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ภายใต้ “คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม” หรือ “คณะ ES” จัดตั้งขึ้นจากตัวแทนในแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทำงานในทุกด้าน ทั้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการพลังงาน การจัดการน้ำ และของเสียจากกระบวนการผลิต เพื่อนำไปตั้งเป้าหมายการลดการใช้ทรัพยากรทั้งระยะสั้นและระยะยาว ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิต สามารถแก้ไขปัญหาและข้อร้องเรียนจากผลกระทบต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที และรายงานการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ ESG รับทราบ
ทีวีโอ ตั้งเป้าหมายระยะยาวมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2588 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2603 รวมถึงตั้งเป้าหมายระหว่างทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 ลงอย่างน้อย 20% ภายในปี 2578 เทียบกับปีฐาน 2564 เป็นความมุ่งมั่นร่วมกับเป้าหมายของประเทศไทยและนานาชาติ เพื่อช่วยลดผลกระทบของความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นกับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ทีวีโอเริ่มดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ในปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ทีวีโอติดตั้งระบบไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไปแล้วทั้งสิ้น 2 เมกะวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดโครงการได้ทั้งสิ้น 2,600 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2567-2568 ทีวีโอมีโครงการติดตั้ง Solar Rooftop เพิ่มอีก 7 อาคาร คาดว่าเมื่อแล้วเสร็จ จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 8 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 44,000 ตารางเมตร และมีแผนการติดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ทีวีโอบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
“น้ำ” นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญด้านหนึ่งในกระบวนการผลิต ที่ได้รับอิทธิพลสภาพอากาศสุดขั้ว จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อผู้ใช้น้ำในทุกภาคส่วน ทีวีโอ จึงให้ความสำคัญกับการบริการจัดการน้ำแบบบูรณาการ เพื่อป้องกัน และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้น้ำของทีวีโอ
จากโครงการด้าน 3R ที่ทีวีโอได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 โครงการ ในระหว่างปี 2565-2566 ทีวีโอ สามารถลดการนำน้ำจากภายนอกมาใช้ได้มากกว่า 40,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
การดำเนินการตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านน้ำ ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของธุรกิจ เพื่อศึกษาผลกระทบและจัดทำแผนบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ทีวีโอ ได้จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ ครอบคุลมประเด็นน้ำแล้ง น้ำท่วม คุณภาพน้ำดิบ รวมถึงความเสี่ยงด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การจัดทำมาตรการลดและจัดการความเสี่ยง อาทิ การจัดหาแหล่งน้ำสำรองและติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในกระบวนการผลิตเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำแล้งและปัญหาคุณภาพน้ำ การจัดเตรียม BCM Plan และแผนฉุกเฉินเพื่อระงับเหตุกรณีน้ำท่วม เป็นต้น โดยความเสี่ยงด้านน้ำทั้งหมด ถูกบรรจุอยู่ในทะเบียนความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งมีกำหนดการการทบทวน และรายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้บริหารและผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ ในปี 2566 ทีวีโอ ได้จัดทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ตามมาตรฐาน TCFD ทำให้บริษัทได้ทราบถึงระดับและผลกระทบด้านน้ำจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในระยะยาว นำมาซึ่งการเตรียมการตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านน้ำในอนาคตอีกด้วย
ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต การบรรจุ การสนับสนุนการผลิตที่สำนักงาน รวมถึงของเสียที่เกิดจากการใช้งานผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการจัดการอย่างถูกต้อง ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ทีวีโอ บรรลุเป้าหมายการไม่นำของเสียไปฝังกลบตั้งแต่ปี 2563 และในปีนี้ บริษัทบรรลุเป้าหมายการนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้ 100% อาทิ การนำขี้เถ้าแกลบไปทำปุ๋ย การนำดินฟอกสี (bleaching clay) ที่มีค่าความร้อนสูงไปใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงผสม เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในเตาเผาอุตสาหกรรมซีเมนต์ รวมถึงการนำน้ำเสียที่บำบัดแล้วไปประโยชน์ภายในโรงงานโดยไม่มีการปล่อยออกนอกรั้วโรงงานอีกด้วย
ของเสียกว่าร้อยละ 90 ของทีวีโอ คือขี้เถ้าแกลบจากการผลิตไอน้ำในกระบวนการผลิต ซึ่งในปี 2567 โครงการ New TVO1 ได้มีการติดตั้งหม้อไอน้ำใหม่ ซึ่งมีความสามารถสับเปลี่ยนใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายชนิด ซึ่งจะทำให้สามารถลดขี้เถ้าแกลบจากการผลิตไอน้ำลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งไปกว่านั้น ทีวีโอ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาการนำขี้เถ้าแกลบไปใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงโครงการศึกษาการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากขี้เถ้าแกลบเพื่อต่อยอดเป็นอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับพนักงานที่จะเกษียณอายุอีกด้วย
ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการจัดการผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการผลิต ตลอดจนข้อร้องเรียนที่ได้รับการแจ้งเข้ามายังบริษัทผ่านช่องทางต่างๆ พร้อมจัดตั้ง “ทีมงานแผนกชุมชนสัมพันธ์” ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนรอบข้างอย่างใกล้ชิด เข้าพบปะเยี่ยมเยือนชุมชนในแต่ละครัวเรือน เพื่อรับฟังและดำเนินการเยียวยาข้อร้องเรียนต่างๆ ในเบื้องต้นก่อนประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในแต่ละด้าน เพื่อลดผลกระทบจากกระบวนการผลิตให้ได้มากที่สุด รวมทั้งสื่อสารกลับไปยังชุมชนเพื่อรับทราบถึงผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่างๆ ของทีวีโอต่อไป
ในปี 2566 ไม่พบว่ามีข้อร้องเรียนจากชุมชนเรื่องผลกระทบจากกระบวนการผลิตที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตาม ทีมงานแผนกชุมชนสัมพันธ์ยังคงติดต่อสื่อสารและลงพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าการปรับปรุงการดำเนินงานให้กับทางชุมชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
ทีวีโอมุ่งมั่นพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทั้งขวดน้ำมันพืช กล่องบรรจุภัณฑ์น้ำมันพืช รวมไปถึงถุงบรรจุภัณฑ์กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อสนับสนุนการเป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ระดับองค์กร โดยมีการปรับโฉมขวดน้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการพัฒนาให้ใช้เม็ดพลาสติกลดลง 4 กรัมต่อขวด แต่ยังคงมาตรฐานความแข็งแรงตามเดิม ทำให้สามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกโดยรวมได้ถึง 350,000 กิโลกรัมต่อปี รวมถึงยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวด (Cap Seal) ในผลิตภัณฑ์ขนาด 1 ลิตร ช่วยลดการใช้พลาสติกไปได้อีกกว่า 26,000 กิโลกรัม
นอกจากนี้ยังได้พัฒนากล่องบรรจุภัณฑ์น้ำมันพืชขนาด 1 ลิตร ลดความหนาของกล่องบรรจุภัณฑ์ ทำให้น้ำหนักเบาลง และเปลี่ยนมาใช้กระดาษรีไซเคิล ช่วยลดการใช้ทรัพยากร สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษไปได้กว่า 70,400 กิโลกรัมต่อปี รวมถึงพัฒนาถุงบรรจุภัณฑ์กลุ่มวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ลดความหนาของผ้าทอเส้นกระสอบลงจาก 80 ไมครอน เป็น 60 ไมครอน ลดการใช้ทรัพยากรเส้นทอไปได้กว่า 12,517 กิโลกรัมต่อปี โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานความแข็งแรง ความปลอดภัยด้านอาหารและสะดวกต่อการใช้งานตามเดิม
ทีวีโอตระหนักถึงการบริโภคอย่างรับผิดชอบตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนการส่งมอบผลิตภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการ “TVO รวมพลัง คืนชีวิต ขวดน้ำมัน” มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่และโรงงานมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการจัดการขวดน้ำมันพืชใช้แล้วและขวดพลาสติก PET เพื่อรวบรวมนำเข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิลอย่างถูกวิธี
จากการดำเนินงานในระยะแรกขวดที่เก็บรวบรวมได้ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ “จานรองแก้ว” เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้มีอุปการะคุณ
ทั้งนี้ในปี 2566 ทีวีโอได้ต่อยอดเป็น “โครงการ How to ทิ้ง แยกขยะก่อนทิ้ง ดีต่อเรา ดีต่อโลก” ด้วยหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีในสถานที่ทำงาน เพื่อยกระดับโครงการคัดแยกขวดไปสู่การคัดแยกขยะแบบครบวงจร โดยมุ่งหวังให้เกิดวัฒนธรรมการคัดแยกขยะแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง โดยขวดพลาสติก PET ที่ได้จากโครงการได้เก็บรวบรวมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น เสื้อยืดจากผ้ารีไซเคิล และถุงผ้า เป็นต้น
โครงการนี้นอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกด้วยการจัดการอย่างถูกวิธีตั้งแต่ต้นทางแล้ว ยังสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นของใช้ชิ้นใหม่จากวัสดุรีไซเคิล ช่วยลดปริมาณขยะและมีส่วนร่วมในการสร้างการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกด้วย
ทีวีโอส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการ TVO ส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชน ฝึกทักษะทำสบู่ซักล้างจากน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของน้ำมันพืชใช้แล้ว และเสนอแนะแนวทางการนำน้ำมันพืชใช้แล้วมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดประโยชน์ โครงการนี้ยังมีประโยชน์ในการช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่ง ขั้นตอนการทำสบู่จากน้ำมันพืชใช้แล้วมีวิธีการไม่ยุ่งยาก ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถทำตามได้เองที่บ้าน ถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน อีกทั้งผู้ที่เข้าร่วมโครงการยังสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดการสร้างอาชีพได้
ด้วยแนวคิดอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำท่าจีนให้ใสสะอาด แก้ปัญหาวัชพืชผักตบชวาหนาแน่นกีดขวางเส้นทางจราจรทางน้ำ รวมทั้งมุ่งเน้นการสร้างสังคมพึ่งพาตนเองได้ของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน ทีวีโอจับมือกับวิสาหกิจชุมชนเกาะลัดอีแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ร่วมดูแลแม่น้ำท่าจีน ในโครงการ “จานบิน ECO FLYING” ผ่านการสนับสนุนให้ตัวแทนชุมชนได้ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ฝึกมีชีวิต กศน. หนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดแนวทางนำผักตบชวากลับมาสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นอีกครั้ง
โดยการนำ ใบ มาทำภาชนะรักษ์โลกสำหรับใส่อาหาร เพื่อจำหน่ายให้คาเฟ่หรือร้านอาหารในพื้นที่ ซึ่งภาชนะชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหลังการใช้งาน และทีวีโอมีแผนต่อยอดโครงการฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำแผนงานการแปรรูป ลำต้น ของผักตบชวาไปเป็นวัสดุกันกระแทก ซึ่งวัสดุกันกระแทกนี้จะถูกนำมาใช้แทนพลาสติกกันกระแทกเดิมในกล่องบรรจุสินค้าของทีวีโอในอนาคตอีกด้วย
โครงการนี้ถือเป็นการช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอีกทางหนึ่ง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้ให้กับชุมชน มีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริษัทและชุมชนเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
149 ถนนรัชดาภิเษก (ท่าพระ-ตากสิน) แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600
81/7 หมู่ 1 ตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120
+66 2 477 9020
info@tvothai.com
การเคารพสิทธิมนุษยชน
การเคารพสิทธิมนุษยชน
บริษัทประกาศ “นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน” เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ การคุกคาม หรือการล่วงละเมิดในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งประกาศ “นโยบายการควบคุมการใช้แรงงานเด็ก และการเยียวยากรณีพบการจ้างแรงงานเด็ก” ที่ครอบคลุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการว่าจ้างแรงงานเด็ก
ในปี 2566 บริษัทได้เริ่มนำ “กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน” (Human Rights Due Diligence : HRDD) มาปรับใช้ในองค์กร โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมตลอดทุกขั้นตอนในห่วงโซ่คุณค่าเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานในทุกขั้นตอนจะไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการร่วมปรึกษาเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ทั้งต่อพนักงานและบริษัท รวมทั้งเป็นกระบอกเสียงสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของพนักงาน ซึ่งทุกประเด็นจะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ทีวีโอกำหนดให้ความปลอดภัยในการทำงานเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน มุ่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร จึงได้ประกาศ “นโยบายคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ทั้งในบริเวณโรงงาน พื้นที่ปฏิบัติงาน ภายในอาคารสำนักงานและบนเว็บไซต์ของบริษัท โดยมี “คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ” ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งเสนอมาตรการปรับปรุงแก้ไข เพื่อยับยั้งหรือลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
การดูแลพนักงาน และการพัฒนาบุคลากร
การดูแลพนักงาน
ทีวีโอมุ่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในทุกระดับเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในโลกธุรกิจ โดยส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการจัดอบรมภายใน และส่งเสริมการเข้าร่วมอบรมภายนอก รวมไปถึง การเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานจริง เพื่อมุ่งเน้นให้พนักงานเกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในปี 2566 จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยของพนักงานอยู่ที่ 17 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
นอกจากนี้ บริษัทให้ความสำคัญกับการดูแลและพัฒนาสุขภายกายและใจของพนักงาน เพราะคำนึงอยู่เสมอว่า พนักงานคือหัวใจสำคัญที่จะช่วยนำพาองค์กรให้เติบโตไปตามเป้าหมายได้ จึงได้จัดทำ “โครงการองค์กรแห่งความสุข Happy Workplace” ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีขององค์กร สร้างสมดุลการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น ในปี 2566 บริษัทได้เริ่มดำเนินโครงการระยะแรกโดยคัดเลือกตัวแทนพนักงานจากโรงงานเป็นผู้เข้าร่วมโครงการ และนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดเป็นแผนพัฒนาสุขภาวะองค์กรและพนักงานทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ Happy Body (การส่งเสริมด้านสุขภาพกายและใจที่ดี) Happy Relax (การส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย) และ Happy Money (การส่งเสริมด้านการออมและการวางแผนในการใช้จ่าย) ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมในแต่ละด้าน เช่น กิจกรรม โครงการฟุตบอลประเพณี TVO กิจกรรม บอกลาออฟฟิซซินโครม พิชิตความเครียด Burn Out และกิจกรรม เตรียมวันเกษียณ เงินดี ชีวิตดี มีความสุข
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ทีวีโอส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างพนักงานและชุมชน โดยจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมี “หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์” ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินงานหลักผ่านการสื่อสารกับชุมชน เช่น การรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อกังวลใจของชุมชน มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
โครงการ CSR - DIW Continuous 2566
ทีวีโอเข้าร่วมโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน หรือ CSR - DIW Continuous 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ผ่านการสานเสวนาร่วมกับชุมชนรอบโรงงานในรัศมีอย่างน้อย 5 กิโลเมตร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรับฟังและแก้ไขปัญหาตามความต้องการของชุมชน โดยปีนี้ได้จัดกิจกรรมฝึกทำสบู่ซักล้างจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ส่งเสริมแนวคิดการเพิ่มมูลค่าและลดปริมาณของเสียจากครัวเรือนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม พร้อมทั้งส่งตัวแทนพนักงานเข้าไปแบ่่งปันและถ่่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของน้ำมันพืชใช้แล้ว รวมไปถึงแนะนำแนวทางการจัดการน้ำมันพืชเก่าอย่างถูกต้อง
โครงการ Caring & Sharing: แบ่งปันด้วยใจเพื่อสังคมไทยยั่งยืน
โครงการ Caring & Sharing เป็นกิจกรรมที่ทีวีโอดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 บริษัทมุ่งเน้นการสร้างสังคมพึ่งพาตนเองได้ในชุมชน ส่งเสริมให้ชาวบ้านเกิดการพัฒนาเอง ทั้งในด้านทักษะการใช้ชีวิตและทักษะอาชีพ โดยทีวีโอเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาสู่โรงเรียนและเยาวชนที่ขาดแคลน ส่งเสริมสุขภาวะของคนในชุมชน ส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่ดีงาม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับประชาชนในชุมชน เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ การสนับสนุนการศึกษาสู่เยาวชน การสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ และร่วมอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น