At a Glance

ทีวีโอ มีการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมภิบาล ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)

สรุปผลการดำเนินงาน 2565

มิติเศรษฐกิจ

ไม่มีข้อร้องเรียนจากการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ

ไม่มีข้อร้องเรียนด้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ

100% ของคู่ค้ารายใหม่ ผ่านการคัดเลือกด้วยเกณฑ์ด้าน ESG ด้วยแบบฟอร์มใบสมัครคู่ค้าฉบับใหม่

100% ของคู่ค้ารายใหม่ ตอบแบบประเมินตนเอง Self-Declare

100% ของคู่ค้ารายใหม่ รับทราบและลงนามตอบรับในจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ

ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์เท่ากับร้อยละ 92.84

มิติสิ่งแวดล้อม

การลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ระดับองค์กร ได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
  • ระดับผลิตภัณฑ์ อยู่ระหว่างการขอการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 19 รายการ

การใช้ไฟฟ้า
  • โรงสกัด ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 29.5 ยูนิตต่อตันเมล็ดถั่ว
  • โรงกลั่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 27.5 ยูนิตต่อตันน้ำมันดิบ

การใช้ไอน้ำ
  • โรงสกัด ปริมาณการใช้ไอน้ำลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 312.4 กิโลกรัมไอน้ำต่อตันเมล็ดถั่ว
  • โรงกลั่น ปริมาณการใช้ไอน้ำลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 186.5 กิโลกรัมไอน้ำต่อตันน้ำมันดิบ

การใช้เชื้อเพลิงจากแกลบ

อัตราการใช้เชื้อเพลิงจากแกลบลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 236 กิโลกรัมแกลบต่อตันไอน้ำ


การใช้น้ำ

ปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการผลิตลดลงจากปี 2564 อยู่ที่ 0.73 ลูกบาศก์เมตรต่อตันเมล็ดถั่ว


การลดของเสียจากกระบวนการผลิต

ของเสียที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณของเสียทั้งหมด จากร้อยละ 91 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 94.32

มิติสังคม

การเคารพสิทธิมนุษยชน

ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน


การดูแลพนักงาน และการพัฒนาบุคลากร
  • พนักงานได้รับการพัฒนาฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 85.82 ของพนักงานทั้งหมด และจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยอยู่ที่ 14.54 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
  • พนักงานในโรงงานเป็นคนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมกว่าร้อยละ 70 หรือกว่า 963 คน จากพนักงานโรงงานทั้งหมด

ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • ไม่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานต่อเนื่อง 1,617,184 ชั่วโมงการทำงาน
  • อัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน หรือ TRIR (Total Recordable Injuries Rate) ของพนักงานเท่ากับ 0.25 ลดลงจากปี 2564 โดยมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรม Starch and vegetable fats and oil manufacturing (NAICS 311220) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.0

การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

ทีวีโอมีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนรอบข้าง ผ่านโครงการที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพอนามัยของผู้คน และแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวม 65 โครงการ

โครงสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีการสื่อสารและวิธีการดำเนินงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ซึ่งแสดงถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถจำแนกได้ 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) พนักงาน 2) ลูกค้าและผู้บริโภค 3) คู่ค้าและผู้ส่งมอบวัตถุดิบ 4) ผู้ถือหุ้น 5) สังคมและชุมชน 6) คู่แข่ง 7) หน่วยงานราชการ ทีวีโอ มีการดำเนินงานผ่านแนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายรูปแบบ

การประเมินสาระสำคัญ และประเด็นด้านความยั่งยืน

ทีวีโอ มีการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ได้ดำเนินการรวบรวมและประเมินประเด็นความยั่งยืน ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท โดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ตามความต้องการ ความคาดหวัง และผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีกระบวนการประเมินและจัดลำดับความสำคัญอ้างอิงตามกรอบการรายงานความยั่งยืนสากล Global Reporting Initiative (GRI) ฉบับ GRI Standard ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การระบุประเด็นสำคัญ
    การระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน บริษัทรวบรวมประเด็นในแต่ละด้าน (มิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม) ข้อมูลทั้งจากภายนอกและภายในองค์กร ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) แนวโน้มและเทรนด์ด้านความยั่งยืน ข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทิศทางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจขององค์กร การประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ การสร้างคุณค่าร่วมและการตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
  2. การจัดลำดับความสำคัญ
    การจัดลำดับความสำคัญด้านความยั่งยืน เป็นการนำประเด็นที่มีความสำคัญต่อองค์กรและต่อผู้มีส่วนได้เสียมาพิจารณาใน 2 มิติ ได้แก่
    • ประเด็นที่มีความสำคัญสูง ต่อองค์กรและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย สร้างผลกระทบทั่วทั้งองค์กรและต่อผลการดำเนินงาน
    • ประเด็นที่มีความสำคัญปานกลาง ต่อองค์กรและสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียบางกลุ่ม
  3. การรับรองผลการการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
    แผนกส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักเลขานุการ ทำหน้าที่รวบรวมและสรุปประเด็นสำคัญ นำเสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พิจารณาอนุมัติและรับรองผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
  4. การจัดทำกลยุทธ์และเป้าหมายด้านความยั่งยืน
    เมื่อกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแล้ว จะถูกนำเข้าสู่การประชุมระดับฝ่ายจัดการของบริษัท (Management Meeting) เพื่อมอบหมายให้ฝ่ายหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน นำไปกำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย กิจกรรมการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในระยะยาวต่อไป
  5. การตรวจสอบความถูกต้องและพัฒนารายงานความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
    รายงานความยั่งยืนฉบับนี้ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เข้ามาร่วมทบทวนและตรวจสอบ ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ แบบสำรวจความคิดเห็นท้ายรายงาน หรือช่องทางเว็บไซต์ของบริษัท เพื่อรวบรวมผลการประเมินนำเสนอต่อคณะทำงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไข รวมถึงทบทวนประเด็น และเป้าหมายด้านความยั่งยืน เพื่อพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ให้สะท้อนถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง
ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
  1. การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ
  2. การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  3. การจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ
  4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลง
  5. การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์
  6. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและก๊าซเรือนกระจก
  7. การใช้ทรัพยากรทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (พลังงาน น้ำ และของเสียในกระบวนการผลิต)
  8. การดูแลและสร้างคุณค่าร่วมแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
  9. การเคารพสิทธิมนุษยชน
  10. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
สำนักงานใหญ่

149 ถนนรัชดาภิเษก (ท่าพระ-ตากสิน) แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600

โรงงาน

81/7 หมู่ 1 ตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120

ติดต่อเรา

+66 2 477 9020
info@tvothai.com